อนุสรณ์เจดีย์ภาวนานุศาสน์ วัดป่าหนองยาว ตำบลโพนงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
เจดีย์ ภาวนาสุศาสน์ อนุสรณ์นี้ เป็นเจดีย์ที่ศรัทธาชนร่วมในกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงคุณงามความดีและเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้โน้มน้าวระลึกถึงผู้มีพระคุณอย่างใหญ่หลวงอันหาอะไรมาเปรียบปานมิได้ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจอยู่มิรู้วาย ศรัทธาชนจึงพร้อมใจกันร่วมสร้างอุนุสรณ์สถานนี้ขึ้นดังที่เราๆ ท่านๆ ได้เห็นเป็นประจักษ์ อยู่ในขณะนี้อันชื่อว่าอนุสรณ์เจดีย์แต่ความเคารพนับถืออย่างใหญ่หลวง ดังท่านจะได้ทราบประวัติความเป็นมาของเจดีย์ในโอกาสต่อไป
ลักษณ์ของเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงสูงเป็นรูป 8 เหลี่ยม บนยอดเป็น 3 ชั้น ขึ้นไปสุดยอดเป็นยอดยาวและมีฉัตรปักบนยอดเป็น 5 ชั้น มีประตูเข้าสู่ภายในเจดีย์ 3 ประตู ก่อนที่จะถึงเจดีย์มีบันใด 10 ชั้น เจดีย์ตั้งอยู่บันใดเนินดิน ซึ่งถมพูนดินขึ้นมามีกำแพงล้อมรอบ ทั้ง 3 ด้าน คือด้านทิศตะวันตก ด้านทิศเหนือ ด้านทิศใต้ จะมีบันใดขึ้นมาสู่องค์เจดีย์อีกด้านละข้างมีบันใดข้างละ 10 ขั้น และเชิงบันใดแต่ละข้างจะมีรูปสิงห์โตเป็นรูปปั้นดินเผาข้างละ 2 ตัวและที่พิเศษคือบันใดด้านทิศตะวันตกนอกจากจะมีรูปปั้นดินเผาของสิงห์คู่แล้วยังมีต้นศรีมหาโพธิ์ปลูกอยู่ในกระถางที่ยกพื้นขึ้นสูงอีกต้นหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเชิงบันใด และภายใต้บันใดยังทำเป็นห้องเก็บของต่างๆ ที่ใช้ในพระเจดีย์อีกด้วย ตรงบริเวณรอบๆ เชิงเจดีย์จะเป็นลานปูด้วยอิฐบล็อกตัวที กว้างประมาณ 15 เมตร วัดจากเชิงเนินเจดีย์ ล้อมรอบด้านนอกจะประดับไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับ จำพวกดอกดาวเรือง ดอกบานชื่น ช่องว่างทางขึ้นลานเจดีย์จะมีโคมไฟตั้งอยู่บนเสาซึ่งดัดแปลงเป็นลวดลายต่างๆ เป็นระยะๆ ไป มีเสาละ 2 ช่อ 3 ช่อ บางส่วนบางเสาทำเป็นโคมไฟใหญ่มีรูปแบบต่างๆโคมเดียวใหญ่ๆสวยงามมาก ขึ้นบันใดชั้นแรกไปคือบนพื้นพระลานเนินดินที่ตั้งองค์เจดีย์ ที่มีบันใดทั้ง 3 ทางนั้นก็มีโคมไฟตั้งอยู่ บันใดละ 2 โดมตั้งอยู่บนยอดเสา ส่วนมุมทั้ง 4 มุม ของลานเจดีย์มีเจดีย์เล็กย่อส่วนจากเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่อีกทั้ง 4 ด้านเป็นที่ประดิษฐานและบรรจุอัฐิของปูชนียบุคคลอื่นตามสมควรและมีไฟช่อใหญ่อีกมุมละช่อจะมีไฟเล็กอีก 8 ช่อและมีช่อใหญ่ตรงกลางอีก 1 ช่อ และช่อใหญ่รวม 4 ช่อ เป็นโคมไฟยอดแหลมรูปดอกบัว ภายใต้การประดับตกแต่งและออกแบบโดยท่านอาจารย์ประสิทธิ แก้วกลม และคณะและตรงประตูทางเข้าภายในเจดีย์ทั้ง 3 ด้าน จะมีปานประตูใหญ่ด้านละ 2 บาน และแต่ละบานก็ได้สลักเป็นลวดลายต่างๆทั้งรูปชีวประวัติของหลวงพ่อใหญ่แสดงถึงจริยวัตรของท่านในการบำเพ็ญเพียร โดยการทำธุดงควัตรในสถานที่ต่างๆ ทั้งในป่าเขา ลำเนาไพร มีรูปสัตว์ต่างๆ และมีชาวบ้านที่มีความเคารพนับถือในตัวท่าน และสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวของท่านได้รวบรวมมาแกะสลักเป็นลวดลายสวยงาม เมื่อได้ดูภาพที่บานประตูทั้ง 3 ด้าน หรือ 6 ด้าน และท่านจะเข้าใจได้ทันทีว่าหลวงพ่อใหญ่ของเราได้ทำบำเพ็ญเพียรหนักขนาดไหน และทุกข์ยากลำบากเพียงใด ส่วนทางมุมด้านทิศตะวันออกทำเป็นช่องคล้ายๆกับช่องประตูทั้ง 3 ด้านที่กล่าวมา แต่ทางด้านนี้ไม่ทำเป็นประตูเปิด ทำเป็นประตูปิดหมด ทำเป็นรูปม้า 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันหมอรับเอาธรรมจักรไว้ตรงกลางระหว่างหัวม้าทั้ง 2 และตรงข้างล่างม้าทั้ง 2 ตัวนั้นทำเป็นแท่นยาวสุดช่อง และตรงสุดท้ายของแท่นก็ทำเป็นรูปเศียรพญานาค 7 เศียร หรือที่เรียกว่า “นาคปก” ทั้งสองด้านเป็นรูปปั้นดินเผาเหมือนกับรูปสิงห์คู่ ที่อยู่เชิงบันใดที่กล่าวมาแล้ว และตรงเหนือของขอบประตูทั้ง 4 ช่อง รอบองค์เจดีย์จะเป็นรูปปั้นดินเผาของหลวงพ่อรูปใหญ่เท่าองค์จริงของหลวงพ่อตั้งอยู่เหนือขอบประตูเป็นรูปนั่งขัดสมาธิ
https://phonngammuni.go.th/info-service/travel/item/916-travel-1#sigProGalleriaf18c2284ae
ขนาดของเจดีย์วัดจากฐานเจดีย์ถึงยอด 23 เมตร กว้างของเส้นผ่าศูนย์กลาง 8.5 เมตร วัดโดยรอบ 17 เมตร ลานกว้างรอบองค์เจดีย์วัดจากเชิงเจดีย์ถึงกำแพง 14 เมตร จากเชิงเจดีย์ถึงมุมต่างๆ 8.5 เมตร และพูนดินสูงจากพื้นถึงลาน 2.5 เมตร และเฉพาะยอดฉัตรบนยอดสูงสุด 2.80 เมตร บันใดทั้ง 3 ด้านกว้างด้านละ 4 เมตร ประตูช่องและเมตรกว้าง 2 เมตร เป็นเจดีย์สูงตระง่าน อยู่ท่ามกลางมวลแมกไม้สูงจากพื้นดิน 33.33 เมตร ตัวองค์เจดีย์ช่วงล่างประดับด้วยกระเบื้องดินเผาสีเหลืองทองส่วนยอดบน
แสดงความคิดเห็น
***กรุณาแสดงความคิดเห็น ด้วยความสุภาพ เคารพต่อสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดต่อกฎหมาย และศีลธรรมอันดีของสังคม